สโมสรฟุตบอลอาร์มี่ ยูไนเต็ด
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
ชื่อเต็ม | สโมสรฟุตบอลทหารบก | |||
---|---|---|---|---|
ฉายา | สุภาพบุรุษวงจักร | |||
ก่อตั้ง | 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2459 ในนาม สโมสรกีฬากองทัพบก | |||
ยุบ | พ.ศ. 2562 | |||
สนาม | สนามกีฬากองทัพบก | |||
ความจุ | 20,000 | |||
เว็บไซต์ | เว็บไซต์สโมสร | |||
|
สโมสรกีฬาของกองทัพบกไทย | ||
---|---|---|
ฟุตบอล | ฟุตบอลสำรอง |
สโมสรฟุตบอลอาร์มี่ ยูไนเต็ด หรือเดิมคือ สโมสรฟุตบอลทหารบก เป็นสโมสรฟุตบอลในประเทศไทย ตั้งอยู่ที่บริเวณถนนวิภาวดีรังสิต เขตพญาไท โดยใช้สนามกีฬากองทัพบก เป็นสนามเหย้า เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2562 ได้มีการประกาศยุบทีมตั้งแต่ฤดูกาล 2563 เป็นต้นไป[1][2]
ประวัติสโมสร
[แก้]สโมสรฟุตบอลอาร์มี่ ยูไนเต็ด ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2459 ในนาม สโมสรกีฬากองทัพบก โดยมีวัตถุประสงค์ในการที่จะให้กำลังพลในกองทัพ ได้ออกกำลังกาย โดยในระยะแรก นักฟุตบอลส่วนใหญ่ มาจากกำลังพลในกองทัพทั้งสิ้น โดยได้ส่งทีมเข้าร่วมการแข่งขันของ สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ โดยมีเกียรติยศที่สำคัญคือ ชนะเลิศ ถ้วยพระราชทาน ก ในปี 2526 และเคยได้ตำแหน่งรองชนะเลิศ ฟุตบอลควีนส์คัพ ในปี 2540 อีกด้วย[3]
การปรับเปลื่ยนสู่สโมสรอาชีพ
[แก้]กระทั่งในปี 2553 หลังจากที่ทางสมาคมฯ และ ไทยพรีเมียร์ลีก ได้มีการปรับโครงสร้างโดยเพิ่มจำนวนสโมสรที่เข้าร่วมการแข่งขันเป็น 18 สโมสร[4] และ สโมสรต้องทำการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล จึงทำให้มีการจัดตั้ง บริษัท อาร์มี่ ฟุตบอล จำกัด เพื่อบริหารจัดการสโมสร โดยแยกจาก ส่วนของ กองการกีฬา กรมสวัสดิการทหารบก และได้ทำการเปลื่ยนชื่อและตราสัญลักษณ์สโมสร โดยเปลื่ยนชื่อเป็น สโมสรฟุตบอลอาร์มี่ ยูไนเต็ด และได้มีการผ่อนปรนโดย อนุญาตให้มีนักฟุตบอลต่างชาติเข้ามาเล่นร่วมกับสโมสร โดย การเพลย์ออฟเพิ่มจำนวนสโมสร สโมสร จบด้วยอันดับแรกของตาราง ทำให้ตามระเบียบเดิม (16 สโมสร) สโมสรจะต้องตกชั้น แต่ได้สิทธิ์ลงทำการแข่งขันในลีกสูงสุดอีกครั้ง
ตกชั้น
[แก้]ในปี พ.ศ. 2559 สมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้ประกาศยุติการแข่งขันไทยลีกอย่างกะทันหันเนื่องจากการสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และให้ยึดตารางคะแนนวันที่ 14 ตุลาคม ทำให้อาร์มี่ซึ่งอยู่ในอันดับที่ 16 ต้องตกชั้นไปเล่นในไทยลีก 2
-
ก่อนปี 2549
-
2561
ผลงานของสโมสรในแต่ละฤดูกาล
[แก้]ฤดูกาล | ลีก[5] | เอฟเอคัพ | ควีนสคัพ | ลีกคัพ | ผู้ทำประตูสูงสุด | |||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ลีก | แข่ง | ชนะ | เสมอ | แพ้ | ได้ | เสีย | คะแนน | อันดับ | ชื่อ | ประตู | ||||
2539–40 | ไทยลีก | 34 | 14 | 12 | 8 | 60 | 50 | 54 | อันดับ 8 | — | – | – | บุญร่วม ศรีสังข์ | 15 |
2540 | ไทยลีก | 22 | 7 | 4 | 11 | 31 | 45 | 25 | อันดับ 9 | — | – | – | — | — |
2541 | ไทยลีก | 22 | 7 | 5 | 10 | 35 | 42 | 26 | อันดับ 7 | — | – | – | — | — |
2542 | ไทยลีก | 22 | 7 | 4 | 11 | 25 | 30 | 25 | อันดับ 11 | — | – | – | — | — |
2543 | ดิวิชั่น 1 | 16 | 6 | 5 | 5 | 25 | 26 | 26 | อันดับ 5 | — | – | – | — | — |
2544–45 | ดิวิชั่น 1 | 20 | 8 | 7 | 5 | 39 | 27 | 31 | อันดับ 5 | — | – | – | — | — |
2545–46 | ดิวิชั่น 1 | 22 | 7 | 8 | 7 | 31 | 25 | 29 | อันดับ 7 | – | – | – | — | — |
2547 | ดิวิชั่น 1 | 22 | 12 | 6 | 4 | 36 | 18 | 42 | อันดับ 3 | – | – | – | จักรพงษ์ สมบูรณ์ | 14 |
2548 | ดิวิชั่น 1 | 22 | 14 | 5 | 3 | 38 | 16 | 47 | ชนะเลิศ | – | – | – | — | — |
2549 | ไทยลีก | 22 | 7 | 9 | 6 | 31 | 38 | 30 | อันดับ 6 | – | รอบแบ่งกลุ่ม | – | — | — |
2550 | ไทยลีก | 30 | 13 | 8 | 9 | 40 | 33 | 47 | อันดับ 5 | – | – | – | จักรพงษ์ สมบูรณ์ | 9 |
2551 | ไทยลีก | 30 | 6 | 7 | 17 | 21 | 44 | 25 | อันดับ 15 | – | – | – | จักรพงษ์ สมบูรณ์ | 4 |
2552 | ดิวิชั่น 1 | 30 | 18 | 4 | 4 | 55 | 18 | 62 | รองชนะเลิศ | รอบที่ 2 | รอบแบ่งกลุ่ม | – | ธาตรี สีหา | 17 |
2553 | ไทยลีก | 30 | 5 | 7 | 18 | 27 | 54 | 22 | อันดับ 16 | รอบรองชนะเลิศ | รอบก่อนรองชนะเลิศ | รอบที่ 2 | ธาตรี สีหา | 8 |
2554 | ไทยลีก | 30 | 10 | 9 | 15 | 39 | 40 | 39 | อันดับ 13 | รอบรองชนะเลิศ | – | รอบแรก | Leandro dos Santos | 18 |
2555 | ไทยลีก | 34 | 10 | 13 | 11 | 34 | 38 | 43 | อันดับ 10 | รองชนะเลิศ | – | รอบแรก | บีเยิร์น ลินเดอมันน์ | 6 |
2556 | ไทยลีก | 32 | 13 | 9 | 10 | 48 | 40 | 48 | อันดับ 6 | รอบที่ 4 | – | รอบก่อนรองชนะเลิศ | Aron da Silva | 11 |
2557 | ไทยลีก | 38 | 14 | 11 | 13 | 52 | 55 | 53 | อันดับ 9 | รอบที่ 3 | – | รอบแรก | Raphael Botti ธนากร แดงทอง |
9 |
2558 | ไทยลีก | 34 | 11 | 8 | 15 | 43 | 47 | 41 | อันดับ 10 | รอบรองชนะเลิศ | – | รอบรองชนะเลิศ | มงคล ทศไกร | 7 |
2559 | ไทยลีก | 31 | 8 | 6 | 17 | 34 | 46 | 30 | อันดับ 16 | รอบที่ 3 | – | รอบแรก | Josimar | 16 |
2560 | ไทยลีก 2 | 32 | 10 | 9 | 13 | 53 | 57 | 39 | อันดับ 9 | รอบที่ 3 | – | รอบแรก | มาร์กูส วินิซิอุส | 18 |
2561 | ไทยลีก 2 | 28 | 7 | 13 | 8 | 38 | 41 | 34 | อันดับ 8 | รอบที่ 3 | – | รอบที่ 2 | เอรีเวลตู เอมีลีอานู ดา ซิลวา | 14 |
2562 | ไทยลีก 2 | 34 | 15 | 10 | 9 | 56 | 43 | 55 | อันดับ 5 | รอบ 32 ทีมสุดท้าย | – | รอบเพลย์ออฟ | ธนากรณ์ แดงทอง | 16 |
ชนะเลิศ | รองชนะเลิศ | อันดับที่สาม | เลื่อนชั้น | ตกชั้น |
เกียรติยศสโมสร
[แก้]- ถ้วยพระราชทาน
- ฟุตบอลถ้วย
- ควีนส์คัพ - รองชนะเลิศ - 2540
- ไทยเอฟเอคัพ: - รองชนะเลิศ - 2555
ผู้เล่นชุดฤดูกาล 2562 (ฤดูกาลสุดท้าย)
[แก้]หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ
|
|
ผู้ฝึกสอน
[แก้]รายชื่อผู้ฝึกสอน (2547 - 2562)
ชื่อ | สัญชาติ | ระยะเวลา | ความสำเร็จ |
---|---|---|---|
อำนาจ เฉลิมเชาวลิต | 2547-2550 | อันดับ 5 ไทยลีก 2550 | |
วัชรกร อันทะคำภู | 2551 | ||
อำนาจ เฉลิมเชาวลิต | 2551-2552 | ||
ขวัญ รัตนรังษี | 2552-2553 | รองชนะเลิศ ดิวิชั่น 1 2552 | |
อำนาจ เฉลิมเชาวลิต | 2553 | รอบรองชนะเลิศ มูลนิธิไทยคม เอฟเอคัพ 2553 | |
พงษ์พันธ์ วงษ์สุวรรณ | 2554 | ||
อดุลย์ รุ่งเรือง | 2554-2555 | รอบรองชนะเลิศ มูลนิธิไทยคม เอฟเอคัพ 2555 | |
อำนาจ เฉลิมชวลิต | 2555 | ||
อาเลชังดรี ปอลกิง | 2556 | ||
แมทธิว เอลเลียต | ธ.ค. 2556 - มิ.ย. 2557 | ||
แกรี สตีเวนส์ | ก.ค. 2557 - พ.ค. 2558 | ||
อิสระ ศรีทะโร | พ.ค. 2558 - ต.ค. 2558 | ||
วัชรกร อันทะคำภู | ต.ค. 2558 - พ.ย 59 | ||
ธนิศร์ อารีย์สง่ากุล | 2559 -2560 (เลก 1) | ||
รังสิวุฒิ ชโลปถัมภ์ | 2559 - 2560 (เลก 1) | ||
ดานิเอล บลังกู | 2559 - 2560 (เลก 2) | ||
รุย นาซิเมงตู | 2560 - 2561 (เลก 1) | ||
อดุลย์ ลือกิจนา | 2560 - 2561 (เลก 2) | ||
ดานิเอล บลังกู | 2561 - 2562 |
ทีมงานชุดฤดูกาล 2562 (ฤดูกาลสุดท้าย)
[แก้]ชื่อ | สัญชาติ | ตำแหน่ง |
---|---|---|
พลเอก อภิรัชต์ คงสมพงษ์ | ประธานสโมสร | |
พล.ต. ชาญณรงค์ ยี่โต๊ะ | ผู้อำนวยการด้านบริหาร | |
พ.อ.สมเจตน์ นักร้อง | ผู้อำนวยการฝ่ายเทคนิค | |
พลเอกศุภฤกษ์ ไม้แก้ว | ผู้จัดการทีม | |
ธนิศร์ อารีย์สง่ากุล | ผู้ฝึกสอน | |
Kenvin Wolfe | ผู้ฝึกสอนผู้รักษาประตู | |
Thomas Thorp | ผู้ช่วยผู้ฝึกสอน | |
จ.ส.อ.ราเมศ ทองสวัสดิ์ | เจ้าหน้าที่ | |
จ.ส.อ.ธีรพงษ์ ขุนจิตใจ | เจ้าหน้าที่ | |
จ.ส.อ.สราวุธ ทองสวัสดิ์ | เจ้าหน้าที่ | |
ส.อ.กวีพันธ์ ทวีบุตร | เจ้าหน้าที่ | |
สมพล เซ่งจันทร์ | เจ้าหน้าที่ | |
ทศพล สีดาพันธ์ | โค้ชฟิตเนส | |
จ.ส.อ.สถาพร ไกรสรณ์ | นักกายภาพบำบัด |
สโมสรพันธมิตร
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ ‘วาสนา’ โพสต์ยืนยัน ‘บิ๊กแดง’ สั่งพักทีม ‘อาร์มี่ ยูไนเต็ด’ แข่งไทยลีก 2 ส่อยุบทีมปิดตำนาน 103 ปี
- ↑ ปิดตำนาน “อาร์มี่ ยูไนเต็ด” บิ๊กแดงสั่งยุบทีม เหตุขาดทุน ไม่คุ้ม เกรงใจสปอนเซอร์
- ↑ https://www.facebook.com/Armyunitedfootballclub/posts/378833525486146 ประวัติสโมสรอาร์มี่ ยูไนเต็ด (พอสังเขป) - เพจเฟซบุ๊คสโมสรอาร์มี่ ยูไนเต็ด
- ↑ "วิชิตชี้ไทยลีกเหมาะแล้วมี18ทีม siamsport.co.th". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2018-08-07.
- ↑ King, Ian; Schöggl, Hans & Stokkermans, Karel (20 มีนาคม 2014). "Thailand – List of Champions". RSSSF. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 July 2014. สืบค้นเมื่อ 29 October 2014. Select link to season required from chronological list.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- เว็บไซด์สโมสร อาร์มี่ ยูไนเต็ด เก็บถาวร 2019-09-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- เฟสบุ๊คสโมสร อาร์มี่ ยูไนเต็ด
- เฟสบุ๊คแฟนคลับ https://www.facebook.com/ArmyUtd1916